ร่วมแสดงความยินดีกับบทสรุปของโครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคม กระบวนการสร้างนวัตกรผู้มุ่งหวังเปลี่ยนแปลงสังคม

ร่วมแสดงความยินดีกับบทสรุปของโครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคม กระบวนการสร้างนวัตกรผู้มุ่งหวังเปลี่ยนแปลงสังคม

เส้นทางการบ่มเพาะนวัตกรเยาวชนผู้ใส่ใจสังคมในโครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคม หรือ Thammasat-Banpu Innovative Learning Program ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ บริษัท บ้านปู จ ากัด (มหาชน) ผู้น าธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจรแห่งเอเชีย- แปซิฟิกที่มุ่งมั่นพัฒนา “คน”ซึ่งจะขับเคลื่อนชุนชนและสังคมอย่างยั่งยืนในระยะยาวได้ด าเนินมาถึงบทสรุปแล้วโดยทาง โครงการฯได้จัดพิธีมอบถ้วยรางวัลพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี แก่ทีมผู้ชนะเลิศ รวมทั้งรางวัลพิเศษอื่นๆพร้อมใบประกาศเกียรติคุณและทุนการศึกษารวมมูลค่ากว่า 300,000 บาทแก่ทีมดีเด่นประเภทต่างๆ โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ปรีชา สุนทรานันท์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ในพิธีและรองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.อนุชาติ พวงส าลี คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ และนางอุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้อ านวยการสายอาวุโสองค์กรสัมพันธ์บริษัท บ้านปู จ ากัด (มหาชน) ร่วมแสดงความยินดีภายในงาน ในวันที่ 30 มีนาคม 2562 เวลา 16.00-18.30น. ณ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์โดยก่อนที่จะเข้าสู่ พิธีมอบถ้วยรางวัลพระราชทานใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แก่ทีมที่ชนะเลิศในโครงการ ออกแบบเกม ออกแบบสังคม ทางโครงการฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมทดลองเล่นบอร์ดเกมของเยาวชนทั้ง 20 ทีมพร้อม ทั้งชมนิทรรศการเส้นทางการเรียนรู้ของเยาวชนในโครงการฯ

โครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคมเกิดขึ้นเมื่อปี 2560 ด้วยวัตถุประสงค์ส าคัญที่จะพัฒนานวัตกรเยาวชนวัยมัธยมศึกษา ตอนปลายและระดับปวช. จากทั่วประเทศที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาสังคมด้วยเครื่องมืออันสร้างสรรค์อย่าง บอร์ดเกม ซึ่งหลังจากการเปิดตัวผลงานทั้ง 20 ทีมต่อสาธารณชนไปแล้วในงานมหกรรมเกมและการเรียนรู้เมื่อเดือนตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา ล่าสุด เยาวชนทั้ง 20 ทีมได้มีการนำผลงานเหล่านี้ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เป้าหมายทั้งชุมชนและโรงเรียน เพื่อประเมินผลจากการใช้งานจริง สำหรับเกณฑ์การตัดสินนั้น กรรมการผู้ตัดสินจากหลากหลายสาขาจะพิจารณาจากเกมที่ สามารถสื่อสารปัญหาสังคมและใช้วิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด รวมถึงเกมจะต้องมีกลไกที่สามารถให้ความรู้และสร้าง ความตระหนักให้แก่ผู้เล่นในประเด็นทางสังคมตามเป้าหมายของเกมโดยยังคงตอบโจทย์ด้านความสนุกสนาน ที่สำคัญ จะต้องมีกระบวนการนำเกมไปใช้และเผยแพร่ต่อชุมชนต่อไปได้ด้วย

รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า คุณลักษณะของคนที่เป็นนวัตกร คือ คนที่เปิดกว้าง เห็นความเป็นไปได้ในทุกโอกาส คิดวิเคราะห์เป็น พยายามศึกษาปัญหา อย่างเข้าอกเข้าใจ และลงมือทำให้สำเรจ็ด้วยความรักและมงุ่มั่น ซึ่งการที่จะสร้างเยาวชนให้มีคุณลักษณะเหลา่นี้ได้เขาต้องได้ เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เข้าร่วมกระบวนการพัฒนา ผ่านเครื่องมือหลักคือ หลักการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และยังมีเครื่องมือย่อยอื่น ๆ เพื่อให้เยาวชนนำไปใช้ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาบอร์ดเกม “การพัฒนาชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) เป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญมากของหลักการคิดเชิงออกแบบที่ต้องอาศัยความเร็ว ในการหาจุดบกพร่องให้เจอเพื่อแก้ไข หากล้มเหลวก็พยายามใหม่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ในช่วงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เยาวชนทุกทีมจะต้องผ่านประสบการณ์การทำงานจริงที่มีความเข้มข้น นั่นคือการรับฟังคำติชมผลงาน และข้อเสนอแนะ จากทุกทิศทาง ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญในประเด็นทางสังคมต่าง ๆ นักพัฒนาบอร์ดเกม และผู้เล่นอื่น เพื่อนำไปปรับแก้เกม ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถือเป็นช่วงสำคัญที่หล่อหลอมเยาวชนให้เติบโตเป็นนวัตกรต่อไปในอนาคต เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่เยาวชนใน โครงการเติบโตขึ้นในทุก ๆ ด้าน เพื่อประคองความเป็นทีมและพาผลงานเดินหน้าสู่ความสำเร็จให้ได้ ถือเป็นการเรียนรู้จาก ประสบการณ์จริง (Experiential Learning) อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ และจดจำได้ดีที่สุด”

ทางด้านนายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บ้านปูฯ ตระหนักถึงความท้าทายใน ศตวรรษที่ 21 ที่โลกต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม จึงเห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่ เยาวชนจะต้องมีความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนไป ดังนั้น การศึกษาซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการ พัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยบ่มเพาะให้คนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ มีทักษะที่ก้าวทันโลกและสามารถสร้างความเปลยี่นแปลงเชิงบวกให้แก่ตนเองและส่วนรวมได้ หนึ่งในนั้นคือการมีทักษะการ คิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อสร้างนวัตกรรม

“บ้านปูฯ มองว่าการเรียนรู้เป็นรากฐานสำคัญเพื่อพัฒนาคนในฐานะกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนชุมชนและสังคมให้พัฒนา อย่างยั่งยืนในระยะยาว เราจึงมุ่งสร้างกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่เกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชนและการศึกษาอย่าง ต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว และสำหรับโครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคม ที่ทางบ้านปูฯ ร่วมสร้างและสนับสนุน เรายินดีที่ได้เห็นพัฒนาการของเยาวชนในโครงการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และเราก็เชื่อว่านวัตกรรุ่นเยาว์ ที่มีคุณภาพเหล่านี้จะสามารถนำกระบวนการเรียนรู้ที่ได้มาสร้างแรงกระเพื่อมที่ยิ่งใหญ่ให้แก่ประเทศไทยในวันข้างหนา้” นายชนินท์ทิ้งท้าย

ทั้งนี้ โครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคมไม่เพียงแต่ผลิตนวัตกรรุ่นเยาว์ทั้ง 20 ทีมเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการ สร้างภาคีเครือข่ายในการทำงานพัฒนาคนร่วมกันขององค์กรเอกชน บุคลากรทางการศึกษา นักพัฒนาบอร์ดเกม และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในการพัฒนาและสร้างการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ นอกห้องเรียนต่อไป

ผู้สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการ ได้ที่ www.facebook.com/tu.banpu

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *